วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนตะกร้อ3-6 พอเพียง


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
รายวิชา ตะกร้อ พ 30207                                                                                    ชั่วโมงที่ 3
เรื่อง การอบอุ่นร่างกาย                                                                                      เวลา 1 ชั่วโมง 

สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่มเกม และกีฬา
                พ 3.2 รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีจิตวิญาณในการแข่งขัน และชื่นชม ในสุนทรียภาพของการกีฬา
ตัวชี้วัด ม 2/2 เลือกเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย เล่นกีฬาตามความถนัดและความสนใจ  พร้อม ทั้งวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง
             ม 2/3 มีวินัย ปฏิบัติตามกฎ กติกา และข้อตกลงในการเล่นกีฬาที่เลือก

สาระสำคัญ
            การอบอุ่นร่างกายเป็นการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการเล่นกีฬา การอบอุ่นร่างกายที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยป้องกันการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและการบาดเจ็บ อันเนื่องมาจากการเล่นกีฬา
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.      นักเรียนสามารถอธิบายวิธีการอบอุ่นร่างกายด้วยวิธีต่างๆ ได้ถูกต้อง
2.      นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการอบอุ่นร่างกาย
3.      นักเรียนสามารถปฏิบัติการอบอุ่นร่างกายโดยการทำกายบริหารได้
4.      นักเรียนสามารถทำกายบริหารได้อย่างถูกวิธีไม่น้อยกว่า 12 ท่า
สาระการเรียนรู้
1.      ความหมายของการอบอุ่นร่างกาย
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการอบอุ่นร่างกายก่อนการฝึกซ้อมหรือเล่นกีฬา ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวนักกีฬาเป็นอย่างยิ่ง ทำให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยลดการบาดเจ็บ เช่น กล้ามเนื้อฉีก นายแพทย์วิชัย วนดุรงค์วรรณ ได้ให้ความหมายของการอบอุ่นร่างกายไว้ว่า (วิชัย วนดุรงค์วรรณ , 2534 : 290)
การอบอุ่นร่างกาย หมายถึง การเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยเฉพาะระบบโครงสร้าง เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ และเอ็นยึดข้อต่อ รวมทั้งระบบอื่นๆ เช่น ระบบหายใจและการไหลเวียนโลหิต ฯลฯ
1.      ประโยชน์ของการอบอุ่นร่างกาย
การอบอุ่นร่างกายมีประโยชน์ต่อร่างกาย 3 ประการ คือ (จรวยพร  ธรณินทร์, 2522 : 358 )
1.1                        ทำให้การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อและประสาทและระหว่างกลุ่มกล้ามเนื้อด้วยกันเป็นไปอย่างถูกต้องและราบรื่น การปฏิบัติตามเทคนิคจะทำได้ดี
1.2  เพิ่มอุณหภูมิในกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวได้ประสิทธิภาพสูงสุด
1.3             ปรับการหายใจและการไหลเวียนเลือดให้เข้าใกล้ระยะคงที่ (Steady state ) เป็นการย่นระยะการปรับตัว (Adaptation period)
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าการอบอุ่นร่างกายช่วยทำให้กล้ามเนื้อมัดต่างๆ ทำงานประสานกัน ซึ่งการทำงานของกล้ามเนื้อก็คือการหดและคลายตัวตามลักษณะการเคลื่อนไหว ดังนั้น หากกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกันจะทำให้เกิดแรงกระชากต่อกล้ามเนื้อที่อ่อนแอกว่า ทำให้เกิดการฉีกขาด นอกจากนี้การอบอุ่นร่างกายยังช่วยยึดเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้ร่างกายมีความอ่อนตัว ลดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ ได้ ในขณะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นจะช่วยให้การใช้พลังงานของเซลล์ต่างๆ ของร่างกายเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น ร่างกายต้องหายใจเพื่อเพิ่มออกซิเจน รวมทั้งเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อเป็นการปรับตัวของร่างกายให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่องอย่างช้าๆ จนในที่สุดร่างกายจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามหลักการด้านสรีรวิทยาแบ่งการอบอุ่นร่างกายออกเป็น 2 แบบ คือ ( วุฒิพงษ์ และ อารี ปรมัตถากร , 2532 : 24 )
-          การอบอุ่นทั่วไป
-          การอบอุ่นเฉพาะ
การอบอุ่นทั่วไปเพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวทั่วๆ ไป เช่น การวิ่งเหยาะๆ ส่วนการอบอุ่นเฉพาะเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ หรือร่างกายได้ออกกำลังสำหรับกิจกรรมเฉพาะอย่าง เช่น การบริหารร่างกายโดยการยืดกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขาของนักกี๊ฬาตะกร้อ
2.   การทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัว
การทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัว ทำได้หลายวิธีดังนี้ ( วิชัย วนดุรงค์วรรณ , 2534: 290-291 )
2.1  โดยการฝึก ซึ่งแบ่งออกเป็น
3.1.1 ฝึกด้วยตนเอง ได้แก่ การออกกำลังกายแต่เพียงเบาๆ เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ การชกลม การดัดตน ฯลฯ เหมาะสำหรับการเตรียมตัวโดยใช้ระยะเวลาก่อนหน้าลงสนามเข่งขันเล็กน้อย
การบีบ การนวด หรือการเฟ้นกล้ามเนื้อมัดที่มีอาการตึงตัวแต่เพียงเบาๆ เหมาะสำหรับนักกีฬาที่เสร็จจากการฝึกซ้อมหรือแข่งขันกีฬาแล้ว
4.1.2  ฝึกโดยมีผู้ช่วย ผู้ช่วยเหลืออาจจะเป็นนักกีฬาด้วยกันหรือครูฝึกสอน ตลอดจนถึงบุคลากรทางการแพทย์ เช่น บุรุษพยาบาล พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักอาชีวบำบัด ไปจนถึงแพทย์เข้ามาช่วยเหลือโดยการเคล้นคลึง บีบนวดเพียงเบาๆ หรือการมีผู้ช่วยเหยียดช่วยงอข้อต่อของแขนหรือขา มีผู้ช่วยดัดตน เป็นต้น
4.2  โดยใช้อุปกรณ์ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิเฉพาะที่ของมัดกล้ามเนื้อที่มีอาการตึงอยู่ในขณะนั้นให้อ่อนตัวลง อุปกรณ์ต่างๆได้แก่
1.1.1        การใช้ผ้าหนาๆปิดคลุม
1.1.2        การสวมเสื้อวอร์มทับ
1.1.3        การใช้น้ำมันหรือยาทาภายนอกบางชนิดทาหรือถู หรือเคล้น บีบหรือนวดแต่เพียงเบาๆ เป็นต้น
1.1.4        การประคบน้ำร้อน ด้วยกระเป๋าน้ำร้อนกรือกระเป๋าไฟฟ้า
1.1.5        การอบคลื่นเสียง เพื่อให้การสั่นสะเทือนและความร้อนเฉพาะที่ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
1.1.6        การฉายรังสีอุลตร้าไวโอเลต
วิธีการทั้งหมดนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเพิ่มอุณหภูมิเฉพาะที่ตรงบริเวณกล้ามเนื้อมีอาการตึงอยู่โดยหวังผลให้เส้นเลือดบริเวณนั้นขยายตัว เมื่ออัตราการไหลเวียนและปริมาณโลหิตที่ไหลผ่านบริเวณนั้นมากขึ้น จะช่วยให้กล้ามเนื้อชุ่มและในที่สุดกล้ามเนื้อที่ตึงนั้นจะค่อยๆอ่อนตัวลง

กิจกรรมการเรียนการสอน
1.      การนำเข้าสู่บทเรียน
1.1   ครูแจ้งให้นักเรียนจัดแถวตอน 5 แถว แต่ละแถวประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 2 กลุ่ม โดยให้กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2อยู่แถวที่ 1 กลุ่มอื่นๆให้เรียงไปตามลำดับ
1.2   ครูแนะนำให้นักเรียนทุกคนได้น้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้              ในการเรียนรู้การอบอุ่นร่างกายเพราะจะทำให้มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง และจะเป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ            อีกมาก
1.3     ครูชี้ให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักเศรษฐกิจพอเพียงดังนี้
 
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ ส่วน ดังนี้
     1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย นำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
    2. คุณลักษณ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
      3. คำนิยาม ความพอเพียง ต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
              3.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
                                            3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียง ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  และคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นอย่างรอบคอบ
3.3  การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ  ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
                              4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย
4.1  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
4.2   เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม  มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
4.3  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
1.1     ครูให้นักเรียนกลุ่มที่ 5 และ 6 ออกมานำกายบริหาร จำนวน 10 ท่า ท่าละ 10 ครั้ง
1.2   เมื่อนักเรียนทำกายบริหารเสร็จ ครูให้นักเรียนเดินไปนั่งบนเก้าอี้ ซึ่งได้จัดเรียงไว้เป็นแถวหน้ากระดาน จำนวน 5 แถว ต่อจากนั้นครูแจ้งให้นักเรียนทราบว่านักเรียนจะได้เล่นเกม ลำเลียงตะกร้อซึ่งมีวิธีการเล่นต่อไปนี้
1.2.1        ให้ผู้เล่นที่นั่งอยู่หัวแถวถือตะกร้อไว้คนละ 1 ลูก
1.2.2    เริ่มเล่นโดยให้คนหัวแถวเหยียดขาออกไปข้างหน้าทั้งสองข้าง แล้ววางตะกร้อไว้บนขาท่อนล่าง ต่อจากนั้นส่งตะกร้อไปให้คนที่ 2 โดยนำตะกร้อไปวางไว้ที่ขาท่อนล่างของคนที่สองที่เหยียดขามารับตะกร้อไว้ คนที่สองส่งตะกร้อไปให้คนต่อไปในลักษณะเดียวกันจนถึงคนสุดท้าย
1.2.3        ถ้าผู้เล่นทำตะกร้อตกพื้นให้ใช้มือเก็บตะกร้อมาวางบนขาได้ แต่ห้ามใช้มือช่วยในการส่งตะกร้อ
1.3     ครูให้นักเรียนคนหัวแถวและคนที่สองของแต่ละแถวสาธิตการส่งตะกร้อและรับตะกร้อโดยมีครูคอยชี้แนะวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องให้
1.4   ครูซักถามและทบทวนวิธีการเล่นอีกครั้งหนึ่งเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนต่อจากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละแถวเลือกหัวหน้าทีมเพื่อวางแผนการเล่น
1.5   ครูเป่านกหวีดเพื่อเริ่มการแข่งขันสรุปผลการแข่งขันเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงจากนั้นครูให้แถวที่เสร็จเป็นแถวสุดท้ายออกมาลำวง 1 รอบ
1.6   ครูนำวีดีทัศน์แสดงการอบอุ่นร่างกาย (Warming up) มาเปิดให้นักเรียนดูในวีดิทัศน์เป็นการอบอุ่นร่างกายของนักกีฬาวอลเล่ย์บอลและบาสเก็ตบอลใช้เวลาประมาณ 3 นาที เมื่อหมดภาพของการอบอุ่นร่างกายแล้วให้หยุดภาพ
1.7   ครูสุ่มถามนักเรียนจำนวน 2 คน ว่าทำไมก่อนการเล่นกีฬาหรือซ้อมกีฬาจึงต้องมีการอบอุ่นร่างกายทุกครั้ง (นักเรียนอาจจะตอบผิดหรือถูกก็ไม่สำคัญ เพราะเป็นการสร้างความสนใจของนักเรียน)
1.8    ครูสนทนาซักถามนักเรียนต่อไปว่าการอบอุ่นร่างกายที่นักเรียนเคยเห็นหรือมีประสบการณ์มานั้นมีวิธีอะไรบ้าง และกีฬาแต่ละประเภทมีท่ากายบริหารเหมือนหันหรือแตกต่างกันอย่างไร(คำตอบของนักเรียนอาจมีทั้งถูกและผิด เพราะนักเรียนยังไม่ทราบว่าการอบอุ่นร่างกายมีสองแบบ คือการอบอุ่นทั่วไปและการอบอุ่นเฉพาะของกีฬาประเภทนั้น)
1.9    ครูเสริมให้นักเรียนทราบว่ากีฬาแต่ละประเภทจะมีการอบอุ่นร่างกาย โดยทำกายบริหารท่าต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับชนิดของกีฬาว่าจะใช้อวัยวะส่วนใดของร่างกายเล่นมากที่สุด สำหรับตะกร้อซึ่งเป็นกีฬาใช้เท้าเตะก็จะมีวิธีกายบริหารอีกแบบหนึ่ง ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาดูจากวีดีทัศน์ในชั่วโมงนี้
1.10 ครูแจ้งจุดประสงค์ให้นักเรียนทราบว่าเมื่อเรียนจบคาบนี้แล้ว นักเรียนจะต้อง
1.10.1    บอกความหมายของการอบอุ่นร่างกายได้ถูกต้อง
1.10.2    บอกวิธีการทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัว โดยการฝึกด้วยตนเองหรือการใช้อุปกรณ์ช่วย
1.10.3    อธิบายวิธีการทำกายบริหารได้อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่า 12 ท่า
1.10.4    บอกได้ว่าการอบอุ่นร่างกายช่วยลดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ ได้
1.10.5  บอกได้ว่าการอบอุ่นร่างกายช่วยปรับการหายใจ การไหลเวียนของโลหิตและอุณหภูมิของร่างกายให้เข้ากับสภาพกีฬาที่จะเล่น
1.10.6    สามารถทำกายบริหารได้อย่างถูกวิธีไม่น้อยกว่า 12 ท่า
1.11 ครูแจกแบบสอบวัดหมายเลข 3 ให้นักเรียนทำใน 5 นาที แล้วเก็บคืนเพื่อตรวจและบันทึกคะแนนไว้ในแบบบันทึกคะแนนประจำคาบหมายเลข 3


2.      การดำเนินการสอน
1.1   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่ม หลังจากนั้นครูแจก          ใบงานหมายเลข 3 และใบความรู้หมายเลข 3 ให้นักเรียนปฏิบัติโดยใช้เวลา 7 นาที
1.2   ครูให้นักเรียนจัดแถวตอน จำนวน 5 แถว ให้นักเรียนแต่ละคนอยู่ห่างกันในระยะ              ที่สามารถทำกายบริหารท่าต่างๆ ได้ หลังจากนั้นครูให้นักเรียนชมวีดิทัศน์การบริหารร่างกายของนักกีฬาเซปัคตะกร้อ จำนวน 20 ท่า ขณะชมการบริหารแต่ละท่าครูให้นักเรียนทุกคนทำตามแบบ โดยครูจะหยุดภาพให้เป็นภาพนิ่งเป็นระยะ เพื่อให้นักเรียนสามารถทำตามแบบได้ทัน
1.3   เมื่อนักเรียนบริหารร่างกายตามแบบครบ 20 ท่า ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกออกไปทำการบริหารร่างกายเป็นรายกลุ่ม โดยครูให้นักเรียนเลือกฝึกการบริหารร่างกายที่เป็นการอบอุ่นเฉพาะของกีฬาตะกร้อ
1.4   ขณะที่นักเรียนกำลังปฏิบัติกิจกรรมตามข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 อยู่นั้น ครูคอยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนทุกกลุ่มโดยสังเกตพฤติกรรมดังต่อไปนี้
1.4.1        ความตั้งใจ
1.4.2        ความร่วมมือภายในกลุ่ม
1.4.3        ความมีระเบียบวินัย
1.4.4        ความรับผิดชอบ
1.4.5        ความอดทน
ครูบันทึกผลการสังเกตลงในแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนหมายเลข 3
1.5   ครูสุ่มนักเรียนออกมา 1 กลุ่ม เพื่อรายงานประเด็นตามใบงาน หลังจากตัวแทนกลุ่มรายงานเสร็จ ครูถามนักเรียนกลุ่มอื่นว่ามีความคิดเห็นที่แตกต่างไปหรือไม่ ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยมีครูเป็นผู้ประสานและสอดแทรกเนื้อหาที่ขาดหายไปจนได้ข้อสรุปร่วมกันดังนี้
1.5.1    ก่อนการเล่นกีฬาจำเป็นจะต้องมีการอบอุ่นร่างกาย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงอยู่ค่อยๆ อ่อนตัว เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อฉีกขาดจากการถูกเหยียดหรือยึดอย่างกระทันหัน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มอุณหภูมิในกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวอย่างมีประสิทธิภาพและยังเป็นการปรับการหายใจและการไหลเวียนของโลหิต

3.      การสรุปบทเรียน
2.1   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาสาธิตการทำกายบริหารทำเฉพาะของกีฬาตะกร้อ กลุ่มละ 1 ท่า พร้อมทั้งให้บอกประโยชน์ของท่าที่ใช้บริหารร่างกายแต่ละท่า โดยยึดหลักการว่าถ้าต้องการบริหารร่างกายส่วนใด ต้องทำให้ร่างกายส่วนนั้นเคลื่อนที่หรือหมุน ส่วนการยึดกล้ามเนื้อให้ยึดหลักว่ากล้ามเนื้อส่วนที่ต้องการจะยึดหรือทำให้อ่อนตัวจะอยู่ในลักษณะตึงขณะทำการยึด
2.2   ครูแจกแบบสอบวัดหมายเลข 3 ให้นักเรียนทำอีกครั้งหนึ่งแล้วเก็บคืนเพื่อตรวจและบันทึกผลการสอบไว้ในแบบบันทึกผลการสอบวัดประจำชั่วโมงเรียนหมายเลข 3

สื่อการเรียนการสอน
1.      วีดีทัศน์แสดงการบริหารร่างกายของนักกีฬาวอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล และเซปักตะกร้อ
2.      แบบทดสอบก่อน- หลังเรียน
3.      ใบงานหมายเลข 3
4.      ใบความรู้หมายเลข 3
5.      แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนหมายเลข 3
6.      แบบบันทึกคะแนนประจำคาบหมายเลข 3

การวัดผลประเมินผล
1.      วิเคราะห์จากแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนหมายเลข 3
2.      วิเคราะห์จากแบบบันทึกคะแนนประจำคาบหมายเลข 3


บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
     ผลการจัดการเรียนรู้
      .……………………………………………………………………………..…………………………….…………………………………………………………………………………………..………………..…………………………………………………………………………..……………………………….……………………………………………………………………………………
   ปัญหาและอุปสรรค
      ………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………..………
      แนวทางแก้ไข
      ……………………………………………………………………………………………………….…………………………………………….………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………
      ข้อเสนอแนะ
      ……………………………………………….…………………………………………………….………………………………………………………….………………………………………………….………………………………………………….……………………………………………
     
                                                                        ลงชื่อ ………………………… ครูผู้สอน
                                                                                  (นายสุชาติ    ประเสริฐสุข)                          
ความคิดเห็นของผู้บริหาร
…………………………………………………………………………………………….……….…………..…………………………..…………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
                                                                                    ลงชื่อ..........................................
                                                                                           (นายกมล  เฮงประเสริฐ)
                                                                           รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารวิชาการ



ใบความรู้หมายเลข 3

วิชา พ 30207
ตะกร้อ

เรื่องการอบอุ่นร่างกาย
ชั้น ม. 6
เวลา 7 นาที
          3.1 การอบอุ่นร่างกาย
                การอบอุ่นร่างกาย หมายถึง การเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยเฉพาะระบบโครงสร้างของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ เอ็นยึดข้อต่อ และกระดูกรวมทั้งระบบอื่นๆ เช่น ระบบการไหลเวียนของโลหิตและระบบการหายใจ
                ปกติร่างกายมีกล้ามเนื้อ 650 มัด เป็นส่วนที่หนักประมาณ 30-40% ของน้ำหนักตัว กล้ามเนื้อทุกมัดทำงานประสานกันอย่างเป็นระเบียบ ทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรของร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ คือ การหดตัวและคลายตัวตามลักษณะการเคลื่อนไหว
                กล้ามเนื้อของนักกีฬาตามปกติจะมีอาการของกล้ามเนื้อตึงกว่าคนทั่วๆ ไป การอบอุ่นร่างกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อที่ตึงตัวอยู่นั้นอ่อนตัวลงบ้าง เพื่อเผชิญกับการถูกยึดหรือเหยียดอย่างกระทันหันในการเล่นกีฬาเป็นการช่วยลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
          3.2 ประโยชน์ของการอบอุ่นร่างกาย
                นักกีฬาที่ซ้อมหรือเล่นกีฬาโดยปราศจากการอบอุ่นร่างกาย มักจะได้รับบาดเจ็บได้ง่าย สมรรถภาพในการเล่นกีฬาลดลง แต่ถ้าได้ทำการอบอุ่นร่างกายอย่างเพียงพอจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
                3.2.1 ทำให้การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อและประสาท และระหว่างกลุ่มกล้ามเนื้อด้วยกันเป็นไปอย่างถูกต้องและราบรื่น เป็นผลทำให้นักกีฬาสามารถตัดสินใจเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างดีและรวดเร็ว
                3.2.2 ช่วยเพิ่มอุณหภูมิร่างกายและยังเป็นการยึดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ ทำให้กล้ามเนื้อมีความอ่อนตัว ช่วยลดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ ลงไปได้
                3.2.3 ปรับการหายใจและการไหลเวียนของเลือดให้เข้ากับสภาพการเล่นกีฬาที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่เป็นการปับที่ค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่องช้าๆ      
          3.3 วิธีการทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัว
                นอกจากการทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัวโดยการทำกายบริหารแล้ว ยังมีวิธีทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัวอีกหลายวิธี เช่น การบีบนวดหรือการเฟ้นกล้ามเนื้อ การใช้น้ำมันหรือยาทาภายนอกทาถูหรือเคล้น การประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน การอบด้วยคลื่นเสียง ฯลฯ                  



วิชา พ 32102
ตะกร้อ

ใบงานหมายเลข 3
ชั้น ม.6/……
กลุ่มที่………

คำสั่ง  ให้นักเรียนในกลุ่มศึกษาใบความรู้หมายเลข 3 หลังจากนั้นให้ประธานกลุ่มดำเนินการอภิปรายตามประเด็นที่ให้ไว้ พร้อมทั้งสรุปความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่มลงในแบบที่กำหนดไว้ แล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกไปรายงาน
ประเด็นที่ให้อภิปราย
1.      มีนักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งกล่าวว่า การอบอุ่นร่างกาย ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องทำนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ จงอภิปรายและใช้เหตุผล
ข้อสรุป                (  ) เห็นด้วย              (  ) ไม่เห็นด้วย
เหตุผล
1.          …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………
2.          ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………
3.          …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4.          …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………
5.          …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
6.          …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………








แบบทดสอบก่อน- หลังเรียน หมายเลข 3


คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย X ลงบนข้อที่ถูกต้อง
1.      คำกล่าวในข้อใดผิด
ก.      การอบอุ่นร่างกายทำให้การประสานงานของกล้ามเนื้อและประสาทเป็นไปอย่างราบรื่น
ข.       การอบอุ่นร่างกายหมายถึง การเตรียมระบบโครงสร้างของร่างกายให้พร้อมก่อนการเล่นกีฬา
ค.      การอบอุ่นร่างกายทำได้โดยการสวมเสื้อวอร์ม
ง.       ขณะที่ทำการอบอุ่นร่างกายอยู่นั้น ร่างกายต้องการใช้ออกซิเจนและพลังงานมากกว่าปกติ
2.      ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของการอบอุ่นร่างกาย
ก.      เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
ข.      เพื่อให้กล้ามเนื้อตึง
ค.      เพื่อให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ง.       เพื่อป้องกันการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ
3.      ข้อใดไม่ใช้วิธีการทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัว
ก.      การบีบนวด
ข.      การวิ่งช้าประมาณ 1 นาที
ค.      การประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน
ง.       การใช้น้ำแข็งประคบ
4.      ท่ากายบริหารท่าใดใช้กายบริหารลำตัวและแขนดีที่สุด
ก.      ท่าดึงแขน กระตุกศอก
ข.      ท่ากังหันลม
ค.      ท่ากระโดดตบ
ง.       ท่าหมุนเอว
5. ท่ายืดกล้ามเนื้อโดยการนั่งกับพื้นในท่ากระโดดข้ามรั้ว แล้วโน้มตัวเอามือแตะปลายเท้าด้านหน้าเป็นการยืดกล้ามเนื้อส่วนใด
1.      กล้ามเนื้อขาด้านในของเท้าที่ยื่นออกไปด้านหน้า
2.      กล้ามเนื้อขาด้านนอกของเท้าที่ยื่นออกไป
3.      กล้ามเนื้อขาด่านนอกของเท้าที่พับไปด้านหลัง
4.      กล้ามเนื้อหลัง

คำตอบที่ถูกต้องคือ
ก.      ข้อ 1,3
ข.      ข้อ 3,4
ค.      ข้อ 1,3,4
ง.       ถูกทั้งข้อ 1,2,3 และ 4
6. ข้อใดเป็นการอบอุ่นร่างกายโดยการใช้อุปกรณ์ช่วย
ก.         การประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน
ข.         ให้แพทย์ช่วยเคล้นคลึง
ค.        การบีบนวด
ง.         การดัดตน
5.      ข้อใดเป็นการฝึกบริหารร่างกายที่เป็นการอบอุ่นร่างกายของนักตะกร้อ
ก.      หมุนเอว
ข.      หมุนข้อเท้า
ค.      กระโดดตบ
ง.       นั่งยืดกล้ามเนื้อขา










เฉลย

1.                               2.                               3.                               4.
5.                               6.                               7.                              


แบบบันทึกผลคะแนนประจำชั่วโมงเรียนหมายเลข 3
(     ) กลุ่มทดลอง        (    ) กลุ่มควบคุม             ชั้น ……………………
วิชา ตะกร้อ  พ 30207               ชั่วโมงที่ 3                 ประจำวันที่………………

เลขที่
ชื่อ-สกุล
สอบก่อน
สอบหลัง
D
1.
2.
3.
4.
5.
.
.
.
























X



S.D.



 S



                             
                                                          ……………………………………………
(………………………………………)
                                                                                                        ผู้บันทึก









เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

ชื่อเรื่อง : รายงานการใช้เครื่องยิงลูกเทเบิลเทนนิสเพื่อพัฒนาทักษะการตีลูกเทเบิลเทนนิส

รายวิชา พ31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา


ผู้รายงาน : นายสุชาติ ประเสริฐสุข

ปีการศึกษา : 2551

บทคัดย่อ



     ปัจจุบันปัญหาที่พบมากเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษา คือนักเรียนขาดทักษะในการฝึกทักษะการปฏิบัติ โดยเฉพาะนักเรียนไม่สามารถตีลูกเทเบิลเทนนิสในลักษณะต่าง ๆ ได้ถูกวิธีที่ต้องการได้ การฝึกปฏิบัติการตีลูกเทเบิลเทนนิสในลักษณะต่าง ๆ นั้นจะต้องใช้เวลาที่ต่อเนื่องพอสมควร โดยการฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ จึงจะทำให้การฝึกปฏิบัติเกิดทักษะ มีความชำนาญและคล่องแคล่วขึ้น ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จึงเป็นกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความสนใจ ไม่รู้สึก เบื่อหน่าย และช่วยให้การฝึกทักษะต่าง ๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน สามารถทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาได้อย่างเด่นชัดถาวร ช่วยประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ประหยัดงบประมาณและใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับการพัฒนารูปแบบการฝึกอีกวิธีหนึ่ง โดยที่การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี ความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเครื่องยิงลูกเทเบิลเทนนิส เพื่อพัฒนาทักษะการตีลูกเทเบิลเทนนิสรายวิชา พ31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้หลังเรียนด้วยเครื่องยิงลูกเทเบิลเทนนิส เพื่อพัฒนาทักษะการตีลูกเทเบิลเทนนิสรายวิชา พ31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนที่มีทักษะการตีลูกเทเบิลเทนนิสอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 2 ชนิด คือ เครื่องยิงลูกเทเบิลเทนนิส เพื่อพัฒนาทักษะการตีลูกเทเบิลเทนนิสรายวิชา พ31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.23 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


     ผลการศึกษาค้นพบว่า เครื่องยิงลูกเทเบิลเทนนิส เพื่อพัฒนาทักษะการตีลูกเทเบิลเทนนิสรายวิชา พ31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.14/80.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ดังนั้นนักเรียนที่เรียนด้วยเครื่องยิงลูกเทเบิลเทนนิส เพื่อพัฒนาทักษะการตีลูกเทเบิลเทนนิสรายวิชา พ31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีความคงทนในการเรียนรู้

     สรุป เครื่องยิงลูกเทเบิลเทนนิส เพื่อพัฒนาทักษะการตีลูกเทเบิลเทนนิสรายวิชา พ31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เพียงพอที่ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนได้